พระผงสุพรรณ มีแหล่งกำเนิดจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี
เนื้อเป็นเนื้อ ดินเผาละเอียด ปราศจากเม็ดแร่ มีหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว
สีดำ และสีมอย(ดำจางๆคล้ายผงธูป) พระผงสุพรรณพิมพ์ที่นิยมในวงการมีอยู่ 3 พิมพ์ ด้วยกันคือ 1 พิมพ์หน้าแก่ 2 พิมพ์หน้ากลาง 3 พิมพ์หน้าหนุ่ม
พระผงสุพรรณได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยท่านพระยาสุนทรบุรี
เจ้าเมืองสุพรรณในขณะนั้นได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ
เพราะปรากฏว่ามีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้
พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระทองคำก็มีไม่น้อย
นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน
แผ่นลานทองซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้ทำให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี
พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่1 ทรงมีศรัทธาในพระบรมพุทธศาสนา
ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร- ปิยะทัสสีสารีบุตร ให้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้าง พระพุทธปฏิมากร
เพื่อเป็นการสืบศาสนา พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องสกุลสูงเปรียบได้ว่าเป็นพระ
ชั้นกษัตริย์ ของเมืองสุพรรณบุรี
พุทธลักษณะเป็นพระสี่เหลี่ยมทรงชะลูดจนดูเกือบจะเป็น สามเหลี่ยมตัดปลาย
มีบางองค์ถูกถูกตัดปลายออกสองด้านจนกลายเป็นห้าเหลี่ยมก็มี องค์พระนั่ง
ปางมารวิชัยประทับบนฐานชั้นเดียวพระพักตร์แตกต่างกันออกไปตามพิมพ์
ด้านหลังปรากฏลาย นิ้วมือแบบ" ตัดหวาย "ทุกองค์ เป็นศิลปะแบบอู่ทอง
พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี
เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
ลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง
และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู) องค์พระประทับนั่ง
ปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า
พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว
แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท
จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่าง
แห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่
ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น
เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม พระผงสุพรรณนั้นปรากฏตามจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างว่า
“..พระฤๅษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย
พระฤๅษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธี เป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง
สถานหนึ่งดำ ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของ
มหาเถระปิยะทัสสะสี ศรีสารีบุตร คือ ผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น
ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน
แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม " .......................................................................................... ข้อมูลจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
ด้วยเหตุนี้เอง หลวงปู่สนิท ยสินธฺโร จึงได้จัดสร้าง พระเนื้อดิน
ผสมว่าน และ ผงที่ท่านเพียรลบแบบโบราณ เพื่อ การปฎิบัติพระกรรมฐาน
ตามใบจารึกลานทอง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ระบุไว้นั้น
โดยถอดแบบ พระพิมพ์ผงสุพรรณ แบ่งได้ ๒ พิมพ์ ๑. พระผงสุพรรณ พิมพ์ใหญ่ พระเศียร ออกมน และพิมพ์ ค่อนข้างตื้น วรรณะส่วนใหญ่สีดำ มีรอยมัดหวาย นิ้วมือกดที่ด้านหลังพระพิมพ์ ๒. พระผงสุพรรณ พิมพ์เล็ก พระเศียร ออกตัด และพิมพ์ค่นข้างลึก วรรณะส่วนใหญ่ สีแดง มีรอยมัดหวาย นิ้วมือกด ที่ด้านหลังพระพิมพ์
พระผงรุ่นนี้ หลวงปู่สนิท ท่านได้จัดสร้างไว้ ประมาณ ปี ๒๕๐๙
และมายุติการสร้าง เมื่อ ปี ๒๕๑๖ และ ท่านได้ทำการอธิษฐานจิตเรื่อยมา
แต่แปลกตรงที่พระรุ่นนี้ ท่านได้นำไปไว้ในสวนว่าน บนดาดฟ้า กุฎิ ตากแดด
ตากฝน มาเป็นเวลา ๓๐ กว่าปี โดยมาพบเจอ จากคนงานก่อสร้าง ขึ้นไปทำความสะอาด
หลังจากที่หลวงปู่สนิท ได้มรณะภาพ แล้ว จำนวน ๓ บาตร เนื่อพระโดน แดด
โดนฝน จึงมีความแกร่งพิเศษ หรือ อีก วาระหนึ่ง ท่านต้องการให้พระชุดนี้
ได้อาบแสงตะวัน และ แสงจันทรา ในทางศาสตร์โบราณที่หลวงปู่สนิท
ท่านได้ศึกษามา จากครูบาอาจารย์ ก็เป็นได้ ประสบการณ์
พระพิมพ์ผงสุพรรณ จากผู้ที่ได้รับ นำกลับไปบูชา ต่างกล่าวถึง พุทธคุณ
อันไม่ยิ่งหย่อน กว่า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี
ทั้งทางด้านคงกะพันชาตรี และเมตตา บารมี
แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันอันตรายต่างๆ ตามเจตนาที่หลวงปู่สนิท ยสินธฺโร
ท่านตั้งใจสร้างพระรุ่นนี้ อีกรุ่นหนึ่ง เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และ
เป็นกำลังใจให้ญาติโยม ที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ
ได้มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่ยึดมั่น ในการ
ทำความดีต่อพระศาสนา สืบไป ************************************************************************ ข้อมูลจาก หลวงพ่อประดิษฐ์ อนุตโร กรรมการวัดลำบัวลอย ในปัจจุบัน สอบถามรายละเอียด เรื่องราวได้ที่ พระอาจารย์ประดิษฐ์ อนุตตฺโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดลำบัวลอย ได้ในเวลาทำการ โทร.089 - 8347724 ********************************************************************* ติดตาม ข่าวสารจาก วัดลำบัวลอย.......ได้ทาง..... face book ... วัดลำบัวลอย ต.ท่าเรือ อ.ปากพลี จ.นครนายก ทาง web page : http://www.watlumbualoy.com. |